Leading Manufacturer of Various Environment
Friendly Paper Bags and Packaging
มอก. ย่อมาจาก "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึง ข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เป็นเหมือนใบรับรองคุณภาพที่รับประกันว่าสินค้าชิ้นนั้น ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานตามที่กำหนด เครื่องหมาย มอก. 2 แบบ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (มอก. แบบทั่วไป) และ เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ (มอก. แบบบังคับ)
มอก.ทั่วไป : ไม่มีวงกลมล้อมรอบ
✅ ผู้ประกอบการสมัครใจขอการรับรอง (ผู้ประกอบสามารถขอหรือไม่ขอก็ได้)
✅ ตัวอย่างสินค้า ได้แก่ น้ำดื่ม ปากกา เครื่องใช้สำนักงาน กระดาษสัมผัสอาหาร
✅ ผู้ประกอบการควรแสดงเครื่องหมายร่วมด้วย
มอก. แบบบังคับ : มีวงกลมล้อมรอบ
✅ ต้องได้รับการรับรองตามกฎหมาย (สมอ. จะให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือจำหน่ายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน หากผู้ประกอบการไม่แสดงเครื่องหมายจะมีความผิดตามกฎหมาย)
✅ ตัวอย่างสินค้า ได้แก่ สายไฟฟ้า ผงซักฟอก หมวกกันน็อก
✅ ไม่แสดงเครื่องหมาย = ผิดกฎหมาย
โดยกฎหมายจะใช้บังคับครอบคลุมทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์จะต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความปลอดภัย และได้ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานแล้ว
ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2564 สมอ. ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการ ต้องแสดงคิวอาร์โค้ด (QR Code) คู่กับเครื่องหมาย มอก. บนตัวผลิตภัณฑ์ ทุกครั้ง หรือหากไม่สามารถแสดงที่ผลิตภัณฑ์ได้ ให้แสดงบนสิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อสินค้าแทน เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ง่ายขึ้นผ่านการสแกน QR Code หรือร้องเรียนได้ทันที หากสงสัยว่าไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งส่วนประกอบในการแสดง มอก. มีส่วนประกอบดังนี้
1) โลโก้ มอก.
2) ลำดับที่ในการออกเลข มอก.
3) ปี พ.ศ. ที่ออกเลข
4) ชื่อผู้รับอนุญาต
5) QR Code คู่กับเครื่องหมายมาตรฐาน
✨ การเลือกซื้อสินค้าที่มี มอก. จะช่วยทำให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างมั่นใจ สินค้ามีคุณภาพ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้ เพราะได้รับมาตรฐาน มอก. ประเทศไทย ✨ เลือกซื้อสินค้ามี มอก. = ปลอดภัย คุ้มค่า มั่นใจได้
มอก.2948-2562 กระดาษสัมผัสอาหาร คืออะไร ??
ปัจจุบันนี้มีการใช้กระดาษมาบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย และมีบางส่วนที่ใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ นำกระดาษสำหรับงานพิมพ์และเขียนมาทำเป็นภาชนะกระดาษสำหรับสัมผัสอาหาร ซึ่งอาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อกำหนดในมาตรฐาน มอก.2948-2562 กระดาษสัมผัสอาหาร จะมีการควบคุมและทดสอบปริมาณสารอันตรายที่มีโอกาสปนเปื้อนกับอาหาร ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายกับผู้ใช้ โดยโรงงานผู้ผลิตกระดาษต้องมีการควบคุมคุณภาพในการผลิต และต้องระบุข้อความบนบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้งาน อาทิ ประเภทของอาหารที่ใช้ได้หรือห้ามใช้ โดยใช้การระบุว่า เหมาะสำหรับอาหารทั่วไป, ห้ามใช้กับอาหารที่มีไขมัน, อุณหภูมิสูงสุดในการบรรจุอาหาร และมีสัญลักษณ์แสดงว่าสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือแสดงข้อความ “ใช้สัมผัสอาหารได้” เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้จำหน่ายอาหาร สามารถนำภาชนะกระดาษดังกล่าวไปใช้ใส่อาหารได้อย่างปลอดภัย